www.prathaithai.com ยินดีต้อนรับ

สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์

In Stock

0.00฿

สถานะ : พร้อมเช่า

สนใจสอบถาม : โทร. 096-6399591

Quantity
Compare

พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย ธนบุรี

พระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์พระประธานใน พระชุดเบญจภาคี ท่านผู้สร้าง คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พุทธคุณ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จฯระฆังฯ มีมากมาย นับว่าเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับหนึ่งตั้งแต่มีวงการพระเครื่องมา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ที่พระนครศรีอยุธยา ท่านมีอายุยืนยาวนานถึง ๕ แผ่นดิน โดยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลไม่กี่คนที่อยู่ทันเห็น รัชกาลที่ ๑ พระองค์จริง ทั้งนี้ เมื่อท่านอุปสมบท รัชกาลที่ ๑ ทรงพระเมตตารับเป็นนาคหลวง อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน พระสังฆราชองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นผู้สร้าง พระสมเด็จฯอรหังขึ้น ทั้งนี้ ว่ากันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ดำเนินรอยตามการสร้างพระตามสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน ในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์” หลังจากนั้น ๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ท่านได้เริ่มสร้างพระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตาราม สำหรับมูลเหตุในการสร้างพระสมเด็จฯวัดระฆังนั้น เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่ท่านขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องพระพิมพ์ ในครั้งนั้นท่านได้พบพระพิมพ์โบราณที่วัดเสด็จซึ่งเป็นวัดร้าง ท่านจึงได้นำพระพิมพ์เหล่านั้นกลับมาบางส่วนพร้อมทั้งดำริที่ว่าจะสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเหมือนดังที่คนโบราณได้กระทำมา สำหรับมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จฯ ประกอบด้วย • ปูนขาวเป็นส่วนใหญ่ (เอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว) • ผงพุทธคุณ ซึ่งเกิดจากการเขียนอักขระลงบนกระดานชนวนแล้วลบ จากนั้นนำผงที่ได้มาปั้นแล้วนำมาเขียนใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำๆ โดยเริ่มจากผงปถมัง ผงอิทธิเจ ตรีนิสิงเห มหาราช และพุทธคุณ ผงที่ได้จึงมีอานุภาพสูงสุด • ส่วนผสมอื่นๆ ได้แก่ ใบลานเผา ดอกไม้แห้ง เศษจีวรพระ และเนื้อพระประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว เพื่อกันการแตกร้าว สำหรับขั้นตอนกรรมวิธีนั้น • นำเอามวลสารผสมแล้วนำมาตำเป็นเนื้อพระสมเด็จ • ปั้นเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ตัดออกเป็นชิ้นๆ (เรียกว่า ชิ้นฟัก) • นำเนื้อพระสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ ซึ่งแกะจากหินชนวน แล้วกดเนื้อพระกับแม่พิมพ์ • ตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัดดอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน สำหรับแม่พิมพ์ ของพระสมเด็จฯนั้น เป็นแม่พิมพ์พระอย่างแรกที่เป็นศิลปะแบบ Abstract คือ เป็นลายเส้นรูปพระ แทนที่จะเป็นแบบที่มีรายละเอียดที่เป็นรูปพระเสมือนองค์จริง แม่พิมพ์ พระสมเด็จฯวัดระฆัง มีทั้งหมด ๕ พิมพ์ คือ ๑. พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) ๒. พิมพ์ฐานแซม ๓. พิมพ์เจดีย์ ๔. พิมพ์ปรกโพธิ์ ๕. พิมพ์เกศบัวตูม

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์

พระสมเด็จวัดระฆังเป็นสุดยอดในความใฝ่ฝันของหลาย ๆ คน และก็เป็นพระเครื่องชั้นยอดของเมืองไทย แต่ก็ไม่ใช่จะหาง่าย ๆ และราคาก็สุดเอื้อมทั้งนั้น แต่ก็มีพระสมเด็จวัดระฆังอีกพิมพ์หนึ่ง ซึ่งราคา ก็พอจะเอื้อมถึง นั่นก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ ราคาพิมพ์ปรกโพธิ์จะเริ่มต้นที่หลักแสนถึงหลักล้านต้น ซึ่งเป็นราคาที่คนรักสมเด็จสามารถจะจ่ายได้ทั้งนั้น แต่ปัญหาอยู่ที่จะหาพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ได้ที่ไหน เพราะว่าเป็นพระสมเด็จที่สร้างไว้น้อยมาก หลักเกณฑ์ในการพิจารณาก็ยากไม่มีกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน และวันนี้ผู้เขียนจะรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ที่ อ.เต็ก เคยชี้แนะผู้เขียนไว้ และข้อมูลจากตำราต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกบางส่วนมาอธิบาย เป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผู้ที่สนใจวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ได้มีความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อยก็ยังดี

ในอดีต พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ ในวงการพระเครื่องจะไม่ยอมรับ และไม่จัดให้เป็นพิมพ์มาตรฐานของพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์เริ่มมีคนยอมรับก็ตอนเปิดกรุวัดใหม่อมตรสบางขุนพรหม ปี 2500 เพราะตอนเปิดกรุพระสมเด็จบางขุนพรหม ก็มีพิมพ์ปรกโพธิ์รวมอยู่ด้วยแต่   ก็ไม่มากนัก และทางวัดเปิดราคาพิมพ์ปรกโพธิ์ไว้ถึง 3,500 บาท ซึ่งแพงกว่าพิมพ์ใหญ่เสียอีก และก็หมดภายในพริบตา หลังจากนั้นบรรดาเซียนพระทั้งหลายก็เริ่มเชื่อว่า พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์นั้นน่าจะมีจึงค่อย ๆ เริ่มเก็บพิมพ์ที่ดูง่าย ๆ และเก่าจริง ๆ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นพระที่มีรักเก่าหรือทองเก่าและเนื้อจัด แต่ก็ต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะโน้มน้าวจิตใจของคนส่วนใหญ่ให้หันกลับมายอมรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์แต่ก็คุ้มค่า เพราะปัจจุบันพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ที่เห็นจากอดีตและเก็บถึงปัจจุบันเป็นองค์ที่คุ้นตาหลาย ๆ องค์ บัดนี้พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์เหล่านั้นก็กลายมาเป็นองค์ครูในปัจจุบันนี้แล้วครับ

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ มีการจัดสร้างหลายครั้ง หลายวาระ แต่ส่วนใหญ่จะสร้างเนื่องจากได้เลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จโตให้สูงขึ้น ส่วนพิมพ์ก็มีหลายแบบ เช่น พิมพ์มีโพธิ์ข้างละ 5 ใบ, โพธิ์ข้างละ 7 ใบ, โพธิ์ข้างละ 8 ใบ และสุดท้ายโพธิ์ข้างละ 9 ใบ พิมพ์ที่สร้างช่วงแรก ๆ คือโพธิ์ข้างละ 5 ใบ และข้างละ 7 ใบ ตอนนั้นช่างที่แกะแม่พิมพ์ถวาย จะเป็นช่างชาวบ้านมาแกะถวายสมเด็จโต ส่วนพิมพ์โพธิ์ 8 ใบ และโพธิ์ 9 ใบ จะเป็นช่างหลวง แกะแม่พิมพ์ถวายสมเด็จโต โดยเฉพาะโพธิ์ข้างละ 9 ใบที่ช่างหลวงเป็น     ผู้แกะแม่พิมพ์ ช่างหลวงคนนั้นก็คือ หลวงวิจารณ์เจียรนัยนั่นเอง นี่แค่เพียงกลุ่มโพธิ์เท่านั้น ยังมีพิมพ์อีก     ที่เซียนต่างยึดถือ และเป็นที่นิยมกัน นั่นก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์แบบเกศบัวตูม และพิมพ์ปรกโพธิ์แบบฐานแซมเป็น 2 พิมพ์ที่นิยม และมาตรฐานที่สุดในตอนนี้

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Your custom content goes here. You can add the content for individual product

Back to Top