www.prathaithai.com ยินดีต้อนรับ

พระหูยานลพบุรี-พิมพ์ใหญ่

In Stock

0.00฿

Quantity
Compare

พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีฯ ลพบุรี กรุใหม่

เมืองละโว้ ดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปัจจุบัน และเคยเป็นราชธานีของไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่สำคัญเป็นแหล่งกำเนิดพระเครื่องมากมายที่มีชื่อเสียงเป็นนิยมในแวดวงนักนิยมสะสม โดยเฉพาะที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองลพบุรี สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งใหญ่ที่สุดจะเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่สำคัญเป็นวัดที่เป็นแหล่งกำเนิดพระกรุอันดับหนึ่งของจังหวัดมากมายหลายพิมพ์ อาทิ พระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน พระนาคปรก พระยอดขุนพล ฯลฯ
“ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนต้องยกให้พระร่วงหลังลายผ้า แต่ถ้าพระพิมพ์นั่งล่ะก็ต้องเป็นพระหูยาน ลพบุรี” เป็นคำกล่าวยกย่อง ‘พระร่วงหลังลายผ้า’ และ ‘พระหูยาน’ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี  พระยอดนิยมประจำจังหวัด ที่มีค่านิยมสูง และหาดูหาเช่าของแท้ๆ ได้ยากยิ่ง
พระหูยาน ลพบุรี เป็นพระเนื้อชิน มีทั้ง ชินเงินและชินตะกั่ว แต่ชินตะกั่วมีน้อยมาก จัดเป็นหนึ่งใน “พระชุดเบญจภาคีเนื้อชิน” พระยอดขุนพลระดับประเทศ ร่วมกับ พระร่วงหลังรางปืน พระมเหศวร พระท่ากระดาน และพระชินราชใบเสมา มีอายุยาวนานกว่า 700 ปี สร้างเมื่อสมัยขอมยังเรืองอำนาจในแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 มีการขุดค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า “พระหูยาน ลพบุรี” นอกจากนี้ ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆ เช่น กรุวัดอินทาราม, กรุวัดปืน, กรุวัดราษฎร์บูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา, กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี, กรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมืองสรรค์ เป็นต้น

พุทธศิลปะเป็นแบบอู่ทองคล้ายเขมรบายน องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนกลีบบัวเล็บช้าง แบบชั้นเดียวและสองชั้น (บัวคว่ำ-บัวหงาย) พระพักตร์คว่ำและดูเคร่งขรึม แสดงถึงญาณอันแก่กล้า อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะขอม พระกรรณยาวจดพระอังสา จึงขนานนามว่า “พระหูยาน” สามารถแบ่งแยกเป็น 3 พิมพ์ คือ ‘พิมพ์ใหญ่’ ความสูงประมาณ 5.5 ซ.ม. ‘พิมพ์กลาง’ และ ‘พิมพ์เล็ก’ ซึ่งมีขนาดลดหลั่นกันลงมา
นอกจากนี้ยังได้กำหนดศิลปะของพระหูยานลพบุรีไว้เป็น 2 แบบ คือ พระหูยานหน้ายักษ์ และ พระหูยานหน้ามงคล โดย “พิมพ์หน้ายักษ์” พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม ปรากฏพระขนง พระเนตร และพระโอษฐ์ซึ่งจะลึกกว่าและแบะกว้าง ส่วน “พิมพ์หน้ามงคล” พระพักตร์จะมนกว่า และพระโอษฐ์แคบกว่าเล็กน้อย ซึ่งโบราณจารย์ได้ให้ข้อชี้แนะไว้ว่า “พิมพ์หน้ายักษ์” จะเป็นพระหูยาน พิมพ์ใหญ่ และ “พิมพ์หน้ามงคล” ก็คือ พระหูยาน พิมพ์กลาง ส่วนพิมพ์เล็กไม่มีการพูดถึงไว้
พระหูยาน มีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 ที่ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี  เราเรียกว่า “พระกรุเก่า” ผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน มีขุมสนิมกัดกินลึกในเนื้อ มีรอยระเบิดแตกปริ ต่อมาได้มีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่า “พระกรุใหม่” ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวซีดๆ ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก มีเพียงบางองค์ที่มีรอยแตกปริและขุมสนิมบางส่วน พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับพระพุทธรูปบูชา ซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิมจะเป็นสีเขียว แล้วลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย ซึ่งกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินใช้ประกอบในการพิจารณา
 พระหูยาน ลพบุรี ไม่ว่าจะกรุเก่า กรุใหม่ หรือกรุใดๆ ก็ล้วนเป็นเลิศด้วย พุทธคุณพระหูยาน ทั้งด้านคงกระพันชาตรีตามแบบฉบับของขอม และเมตตามหานิยมครับผม

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “พระหูยานลพบุรี-พิมพ์ใหญ่”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Your custom content goes here. You can add the content for individual product

Back to Top